ตำรวจสอบสวนกลาง โดย ปคบ. ร่วม อย. บุกทลายโกดังกระจายผลิตภัณฑ์อาหารเสริม, ยา และเครื่องสำอางปลอม มูลค่าสินค้าปลอมกว่า 10 ล้านบาท
07 เมษายน พ.ศ. 2566
-
https://www.cppd.go.th/wp-content/uploads/2023/03/3-956x560.jpg
-
-
-
ตำรวจสอบสวนกลาง โดย ปคบ. ร่วม อย. บุกทลายโกดังกระจายผลิตภัณฑ์อาหารเสริม, ยา และเครื่องสำอางปลอม มูลค่าสินค้าปลอมกว่า 10 ล้านบาท
🔴วันที่ 24 มีนาคม 2566 กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง โดย พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก., เจ้าหน้าที่ตำรวจ บก. ปคบ. โดยการสั่งการของ พล.ต.ต.อนันต์ นานาสมบัติ ผบก.ปคบ., พ.ต.อ.อนุวัฒน์ รักษ์เจริญ, พ.ต.อ.ชัฏฐ นากแก้ว, พ.ต.อ.ปัญญา กล้าประเสริฐ รอง ผบก.ปคบ., ว่าที่ พ.ต.อ.สุพจน์ พุ่มแหยม ผกก.4 บก.ปคบ., นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา, ภก. วีระชัย นลวชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกันแถลงผลการปฏิบัติกรณีทลายโกดังเก็บผลิตภัณฑ์อาหารเสริม, ยาปลอม และเครื่องสำอางปลอม โดยลวงขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ตรวจยึดของกลาง 19 รายการ รวม 6,320 กล่อง มูลค่าสินค้าปลอมกว่า 10,000,000 บาท
🔴พฤติการณ์กล่าวคือ สืบเนื่องจากปัจจุบันค่านิยมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพเป็นที่ได้รับความสนใจของผู้บริโภคยุคใหม่ จึงทำให้ปัญหาการแพร่ระบาดของผลิตภัณฑ์สุขภาพปลอมในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น กองกำกับการ 4 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค จึงมีมาตรการในการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ในลักษณะดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับได้รับการร้องเรียน และข้อมูลจากบริษัท อินเตอร์ ฟาร์มา จำกัด (มหาชน) ว่าพบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ยี่ห้อ TS6 Probiotic และ Probac7 ปลอม แพร่ระบาดในแพลตฟอร์มออนไลน์เป็นจำนวนมาก
เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงทำการสืบสวนจนทราบว่า มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ยี่ห้อ TS6 Probiotic และ Probac7 ปลอมบนแพลตฟอร์มช้อปปี้มากกว่า 15 ร้าน และพบว่า กลุ่มเครือข่ายผู้กระทำความผิดมีการลักลอบนำสินค้าปลอมเข้ามาจากประเทศจีน จากนั้นนำมาเก็บไว้ที่โกดังเก็บสินค้าในพื้นที่เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร อีกทั้งพบว่าร้านค้าดังกล่าวมีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหาร, ยา และเครื่องสำอางชื่อดังที่ต้องสงสัยว่าปลอมหลายอีกหลายยี่ห้อ ซึ่งผลิตภัณฑ์แต่ละรายการมีราคาค่อนข้างสูง ผู้บริโภคที่ซื้อย่อมคาดหวังในคุณภาพ การขายผลิตภัณฑ์ปลอมในราคาสูงจึงเป็นการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค เมื่อรับประทานแล้วอาจทำให้ไม่ได้ผลตามต้องการ และอาจทำให้ได้รับอันตรายต่อสุขภาพต่อผู้บริโภคโดยตรง
ต่อมาในวันที่ 21 มีนาคม 2566 เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ. และ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) จึงได้ร่วมกันนำหมายค้นของศาลอาญากรุงเทพใต้ เข้าทำการตรวจค้นอาคารแห่งหนึ่ง ย่านถนนบรรทัดทอง แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ผลการตรวจค้น พบ นายเชง (สงวนนามสกุล) สัญชาติ จีน แสดงตัวเป็นเจ้าของสถานที่และกิจการดังกล่าว ตรวจยึดผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ ตามที่ปรากฏในเรื่องร้องเรียน และผลิตภัณฑ์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งหมด 19 รายการ รวมมูลค่าความเสียหายกว่า 10,000,000 บาท โดยของกลางส่วนใหญ่ที่ยึดในครั้งนี้ และมีบริษัทผู้นำเข้ายืนยันว่าไม่ใช่สินค้าของบริษัทตน ได้แก่
1.บริษัท อินเตอร์ ฟาร์มา จำกัด (มหาชน)
2.บริษัทแอมเวย์ (ประเทศไทย) จำกัด
3.บริษัทเฮอร์บาไลฟ์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด
🔴การกระทำของผู้ต้องหาดังกล่าวเป็นความผิดตาม
1. พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 ฐาน “จำหน่ายอาหารปลอม”
ตามลิงค์ข่าว (red arrow curving down)
https://www.thairath.co.th/news/crime/2662578
https://www.nationtv.tv/news/crime/378908939
ปคบ.ทลายโกดัง อาหารเสริม-เครื่องสำอางปลอม ‘ยี่ห้อดัง’ ยึดของกลางกว่า 6 พันกล่อง
https://thethaiger.com/th/news/805627/
https://fm91bkk.com/newsarticle/5152
https://www.thaipbs.or.th/news/content/325920